alcohol

Alcohol in Skincare: The Facts แอลกอฮอล และการถนอมผิว: ข้อเท็จจริง

แอลกอฮอล และการถนอมผิว: ข้อเท็จจริง

ยิ่งมีข้อมูลที่ผิด ๆ ในโลกออนไลน์เกี่ยวกับเรื่องของ แอลกอฮอล กับการถนอมผิว มากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งเข้าใจได้ง่ายขึ้นว่าทำไมบางคนจึงยังเชื่ออยู่ว่า แอลกอฮอล ไม่มีผลกระทบอะไรจริงจังต่อผิวเลย อย่างไรก็ตาม จากผลงานวิจัย (เรากำลังพูดถึงผลงานวิจัยจำนวนมาก) ได้บ่งชี้อย่างชัดเจนที่สุดว่า แอลกอฮอล ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักอย่างหนึ่งในผลิตภัณฑ์ถนอมผิวนั้นเป็นหนึ่งในตัวการสร้างปัญหา

เราทราบดีว่า เราไม่อาจชักจูงให้ทุกคนเชื่อเราได้ แต่เราหวังว่า ผลงานวิจัยล่าสุดและข้อเท็จจริงที่สมเหตุผลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ แอลกอฮอล จะช่วยให้คุณวางขวด (เครื่องสำอาง)ลงเมื่อคุณพบว่า ในรายการส่วนผสมอันดับต้น ๆ นั้นมี แอลกอฮอล รวมอยู่ในนั้นด้วย

แต่ก่อนอื่น ขอให้เราได้บอกคุณก่อนว่า แอลกอฮอล ชนิดไหนที่เราอยากให้คุณเลี่ยง

แอลกอฮอลที่ดีและเลวในสูตรเครื่องสำอาง

เมื่อเราแสดงความกังวลออกมาเกี่ยวกับ การมีอยู่ของ แอลกอฮอล ในผลิตภัณฑ์สำหรับถนอมผิว หรือ ผลิตภัณฑ์สำหรับแต่งหน้าเรากำลังหมายถึง แอลกอฮอลชนิดที่แห้งเร็ว ที่คุณมักจะเห็นในรายการส่วนผสมบนฉลากโดยส่วนใหญ่ในชื่อของ SD alcohol หรือ denatured alcohol หรือ isopropyl alcohol (ชื่อนี้อาจพบน้อยกว่าสองชื่อแรก) แอลกอฮอล เหล่านี้คือ แอลกอฮอลที่ระเหยเร็ว ไม่ไว้เพื่อใส่ในผลิตภัณฑ์แล้วทำให้ผลิตภัณฑ์นั้นมีคุณสมบัติที่ใช้แล้วแห้งเร็ว ช่วยลดความลื่นมันบนผิวในทันทีและสร้างความรู้สึกบางเบาบนผิว ดังนั้น มันจึงดึงดูดให้คนอยากใช้ โดยเฉพาะผู้ที่มีผิวมัน

แต่นั่นก็เป็นเพียงคุณประโยชน์ในระยะสั้นที่จะนำมาซึ่งผลเสียในระยะยาวในท้ายที่สุด

เมื่อคุณเห็น แอลกอฮอล ที่ระบุข้างต้นอยู่ในรายการส่วนผสมบนฉลาก 6 รายการแรก ไม่ต้องสงสัยเลย มันเป็น แอลกอฮอลที่ทำให้ปัญหาผิวทวีความรุนแรงขึ้น และเลวร้ายต่อผิวทุกประเภท ผลที่ตามมา ได้แก่ ความแห้งกร้านผิว ผิวชั้นบนเซาะกร่อน (ซึ่งนั่นถือว่าเลวร้ายมากสำหรับผิว) และผิวเกิดความตึงเครียดในการทำหน้าที่ต่าง ๆ เช่น การฟื้นคืนสภาพผิว การสร้างผิวใหม่และการคืนชีวิตชีวาให้ตัวเอง

และเพื่อให้เข้าใจอย่างครบถ้วน ก็ยังมี แอลกอฮอล ชนิดอื่นอีก ที่เรียกกันว่า fatty alcohol ซึ่งเป็น แอลกอฮอลชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองใด ๆ ทั้งสิ้น นอกจากนั้น ยังมีคุณประโยชน์อันโดดเด่นต่อผิวอีกด้วย ตัวอย่างของแอลกอฮอล ชนิดนี้ที่คุณจะเห็นได้ในรายการส่วนผสมบนฉลาก ก็คือ cetyl alcohol / stearyl alcohol และ cetearyl alcohol ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้เป็นส่วนผสมที่ดีสำหรับผิวที่แห้ง และเหมาะสำหรับผิวทุกประเภทเมื่อใช้ในปริมาณเพียงเล็กน้อยเนื่องจากแอลกอฮอลเหล่านี้ทำให้ผลิตภัณฑ์มีเนื้อน่าพึงพอใจและช่วยให้ส่วนผสมต่าง ๆ ในผลิตภัณฑ์มีความเสถียร ดังนั้น การแยกแยะประเภท แอลกอฮอล ได้ว่าชนิดใดเป็นชนิดที่ดีต่อผิวและชนิดใดเป็นชนิดที่ก่อปัญหาแก่ผิวจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ

ในทำนองเดียวกัน คุณอาจเคยได้ยินว่า แอลกอฮอล เป็นส่วนผสมที่ดีอย่างหนึ่งเพราะว่ามันช่วยให้ส่วนผสมอื่นๆ เช่น เรตินอลและวิตามินซี สามารถซึมลงสู่ผิวได้ดีขึ้น แม้ว่านั่นจะเป็นเรื่องจริงที่ว่า แอลกอฮอล สามารถช่วยให้ส่วนผสมต่างๆ สามารถซึมลงสู่ผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ แอลกอฮอล ก็ทำลายสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ในระยะยาวที่อยู่ชั้นบนของผิวด้วยเช่นกัน ซึ่งโดยแท้จริงแล้ว ก็ยังมีวิธีช่วยให้ผิวได้รับส่วนผสมที่ดีอื่นๆ ที่อ่อนโยนกว่า โดยไม่มีการทำลายชั้นบนของผิว ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างปัญหามากกว่าสร้างประโยชน์

แอลกอฮอล ทำลายผิวและทำให้ปัญหาสิวแย่ลงกว่าเดิมได้อย่างไร

ถ้าคุณเป็นผู้ที่มีผิวมัน การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ แอลกอฮอล อาจเป็นสิ่งที่ดึงดูดใจ เพราะว่าผลิตภัณฑ์เหล่านั้นช่วยให้ผิวของคุณมีความมันน้อยลงในทันที โดยเฉพาะการลดลงของ “คราบน้ำมัน” แต่สิ่งที่ได้กลับมาจากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ แอลกอฮอล เพื่อควบคุมปัญหาผิวมัน ก็คือ ความเสียหายจากแอลกอฮอล เช่น ผิวขรุขระ และรูขุมขนกว้าง

นอกจากนั้น ที่จริงแล้ว แอลกอฮอล ยังทำให้ผิวมีความมันมากยิ่งขึ้นอีกด้วย ดังนั้น ความมันที่ลดลงโดยทันทีในตอนแรกก็จะเปลี่ยนเป็นตรงข้ามในท้ายที่สุด ทำให้ผิวที่มันคุณดูมันเงามากกว่าเดิมใช้แล้วไม่เกิดประโยชน์เหมือนการพายเรือวนอยู่ในอ่าง!

บทสรุปสุดท้าย

ผลงานวิจัยได้บ่งชี้อย่างชัดเจนว่า แอลกอฮอล สร้างความเสียหายต่อชั้นปกป้องผิวที่อยู่ชั้นบน ทำให้สารสำคัญที่จำเป็นต่อการสร้างสุขภาพผิวที่ดีลดน้อยลง และทำให้ปัญหาผิวมันแย่ลงกว่าเดิม พูดง่ายๆ คือ มันส่งเสริมกระบวนการให้เกิดอายุ ในท้องตลาดมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อผิวให้เลือกมากมาย ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องยากเลยหากเราจะมองข้ามผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมทำลายผิว เช่น แอลกอฮอล

ข้อมูลอ้างอิง

Biochimica et Biophysica Acta, May 2012, pages 1,410-1,419

Experimental Dermatology, October 2009, pages 821-832

International Journal of Toxicology, Volume 27, 2008, Supplement pages 1-43

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Shopping Cart
Scroll to Top