คนที่กำลังเป็นสิวมักจะใช้ทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อทำให้หายเป็นสิว แต่ผลงานวิจัยต่างๆ ได้แสดงให้เห็นอยู่เสมอว่า มีผลิตภัณฑ์หลักๆ อยู่สามอย่างที่ช่วยแก้ปัญหาสิวได้ คือ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าดี ๆ สักชิ้นหนึ่ง ผลิตภัณฑ์ช่วยผลัดเซลล์ผิว BHA และยาทารักษาสิวเบนโซลเปอร็อคไซด์ ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่สามดังกล่าวควรเป็นสิ่งที่คุณนึกถึงเป็นอันดับแรกๆ เมื่อต้องการต่อสู้กับปัญหาสิวนอกจากนั้นแล้ว คุณยังอาจใช้ตัวช่วยอื่นเพิ่มอีกก็ได้ เช่น ผลิตภัณฑ์มาสก์ผิวหน้า เพื่อช่วยรับมือกับปัญหาความมันบนผิวหน้าและรูขุมขนอุดตัน แต่ใช่ว่าผลิตภัณฑ์มาสก์จะทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพไปเสียทุกชิ้น
ในการใช้ผลิตภัณฑ์มาสก์กับผิวที่มันและเป็นสิวสิ่งสำคัญคือผลิตภัณฑ์มาสก์นั้นต้องมีส่วนผสมสำหรับช่วยดูดซับความมันและ
ส่วนผสม ช่วยบรรเทาที่มีความสมดุลกัน ทั้งนี้เพื่อช่วยขจัดสิ่งสกปรกอุดในตันรูขนและดูดซับน้ำมันส่วนเกินออก โดยไม่ทำให้ผิวดูแย่ลง หรือแห้ง คุณอาจมีคำถามว่าแล้วผลิตภัณฑ์มาสก์แบบไหนที่เหมาะสำหรับรับมือกับปัญหาสิวมากที่สุด? เรามีคำตอบให้กับคุณ!
ชาร์โคลมาสก์ (มาสก์ที่ใช้ผงถ่าน)
มาสก์ที่ใช้ผงถ่านเหมาะสำหรับผิวที่เป็นสิวง่ายเนื่องจาก ถ่านมีลักษณะพื้นผิวเป็นรูพรุน มีคุณสมบัติในการดูดซับสูงมาก ซึ่งสามารถดูดซับสารบางประเภท (รวมถึงน้ำมันบนผิวหน้า) ได้เหมือนกับแม่เหล็กถ่านไม่เพียงแต่ดูดซับน้ำมันและเศษต่าง ๆ บนผิวหน้าได้ แต่ยังสามารถดักจับเศษต่างๆ เหล่านี้ไว้ จึงไม่ทำให้เกิดการสะสมอยู่บนผิว เมื่อคุณใช้น้ำล้างชาร์โคลมาสก์ออกสิ่งต่างๆ ที่คุณไม่ต้องการให้ติดค้างอยู่บนผิวหน้าก็จะถูกล้างออกด้วยเหลือไว้เพียงรูขุมขนที่สะอาด สดชื่น และอุดตันน้อยลง
อย่างไรก็ตาม เราไม่แนะนำอย่างยิ่งให้คุณทำชาร์โคลมาสก์ด้วยตัวคุณเองการนำผงถ่านเพียงอย่างเดียวมาพอกบนผิวหน้าอาจฟังดูเหมือนง่าย แต่มันเป็นกิจกรรมที่สร้างความเปรอะเปื้อนและอาจขูดผิวให้เสียหาย
หากต้องการผลลัพธ์ที่ดีกว่า ขอแนะนำให้ใช้ชาร์โคลมาสก์สำหรับผิวมันและเป็นสิวง่ายซึ่งจะช่วยให้ผิวของคุณมีสมดุลจากคุณสมบัติช่วยซึมซับความมันของถ่านโดยไม่ทำให้ผิวรู้สึกตึงหรือแห้ง นอกจากนั้นยังล้างออกได้ง่ายกว่าการใช้ผงถ่านเพียงอย่างเดียวมาก

เคลย์มาสก์ (มาสก์ที่ใช้โคลน)
เคลย์มาสก์สำหรับผิวมันและเป็นสิวง่าย ช่วยดูดซับน้ำมันส่วนเกินพร้อมกับช่วยขจัดเศษสิ่งสกปรกที่อุดตันในรูขุมขน เมื่อใช้เคลย์
มาสก์ ผลที่ได้รับ คือ เป็นสิวน้อยลง และรูขุมขนที่ดูเล็กลงด้วย
คำแนะนำ: ให้ระวังอย่าใช้ผลิตภัณฑ์เคลย์มาสก์ (หรือผลิตภัณฑ์มาสก์ผิวหน้าอื่นๆ ) ที่มีส่วนผสมของเมนทอล เปปเปอร์มินต์ น้ำมันหอมระเหย หรือแอลกอฮอลแปลงสภาพ (denatured alcohol) เนื่องจากส่วนผสมเหล่านี้ระคายเคืองต่อผิว ทำให้ปัญหาผิวมันและปัญหาสิวเลวร้ายลง

มาสก์ที่มีส่วนผสมของฟูลเลอร์สเอิร์ธ (Masks with Fuller’s Earth)
ฟูลเลอร์สเอิร์ธ เป็นอีกหนึ่งส่วนผสมที่คุณอาจพบในผลิตภัณฑ์มาสก์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายโคลนทั่วไป แต่มีคุณสมบัติพิเศษคือไม่ทำให้ผิวมัน
แม้ฟูลเลอร์สเอิร์ธจะมีประโยชน์หลักอันเป็นคุณต่อผิวมันที่เป็นสิวง่าย แต่มีข้อเท็จจริงที่น่าสนใจว่าฟูลเลอร์สเอิร์ธยังเป็นส่วนผสมหลักของทรายที่ใช้รองรับการขับถ่ายของแมวด้วย (cat litter) และเชื่อหรือไม่ว่า เมื่อค้นหาในอินเตอร์เน็ต คุณจะพบกับวิธีนำทรายที่ใช้รองรับการขับถ่ายของแมว มาใช้พอกหน้าหลายสูตร แต่เราขอแนะนำเลยว่า อย่าเป็นอันขาด เนื่องจากไม่เพียงแต่เนื้อทรายดังกล่าวจะมีความหยาบที่อาจขูดผิวให้เสียหายแล้ว ส่วนใหญ่มันยังมีส่วนผสมให้กลิ่นหอม และส่วนผสมอื่นที่ก่อความระคายเคืองต่อผิวอีกด้วยซึ่งมีแต่จะทำให้ปัญหาสิวเลวร้ายลง ดังนั้นขอให้เก็บทรายนั้นไว้ให้แมวใช้เพียงอย่างเดียวดีกว่า อย่านำมาใช้กับรูขุมขนของคุณเลย
มาสก์ที่มีส่วนผสมของกรดซาลิไซลิก สำหรับปัญหาสิว
กรดซาลิไซลิก (beta hydroxyl acid หรือ BHA) เป็นส่วนผสมที่ช่วยควบคุมการเกิดสิวที่มีประสิทธิภาพสูงมาก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เรามักจะพบส่วนผสมนี้อยู่ในผลิตภัณฑ์มาสก์ผิวหน้าสำหรับผิวที่เป็นสิวง่าย แต่ก็มีบางเรื่องที่ควรระลึกไว้ คือ อันดับแรกสุด โดยทั่วไปกรดซาลิไซลิกจะเป็นส่วนผสมที่เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์มาสก์ชนิดทาแล้ว ทิ้งไว้มากกว่าชนิดที่ทาแล้วต้องล้างออก เนื่องจาก BHA
ต้องการเวลาสำหรับการทำหน้าที่สลายเซลล์ผิวที่ตายแล้วที่สะสมอยู่ภายในรูขุมขน รวมถึงสารอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดสิว
อันดับที่สอง คุณจำเป็นต้องระลึกว่าผลิตภัณฑ์มาสก์ที่มีกรดซาลิไซลิกจะต้องมีช่วงความเป็นกรด-ด่างที่เหมาะสมเพื่อให้กรดซาลิไซลิก สามารถทำหน้าที่ผลัดเซลล์ผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีผลิตภัณฑ์มาสก์มากมายที่ไม่ผ่านคุณสมบัติข้อนี้ แม้คุณอาจจะได้รับประโยชน์จากสรรพคุณช่วยบรรเทาผิวจากส่วนผสมนี้ที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์มาสก์ แต่ BHA เป็นส่วนผสมทึ่จะทำงานได้ดีที่สุดในผลิตภัณฑ์ช่วยผลัดเซลล์ผิวที่ผลิตขึ้นเป็นอย่างดี
ข้อมูลอ้างอิง:
– Clinical, Cosmetic, and Investigational Dermatology, เดือนสิงหาคม 2015, หน้า 455–461
– American Journal of Clinical Dermatology, เดือนธันวาคม 2012, หน้า 357–364
– Chemosphere, เดือนสิงหาคม 2005, หน้า 1129–1140
– Ceska a Slovenska Farmacie, เดือนพฤศจิกายน 2004, หน้า 304–309
– Chemical & Engineering News, เดือนเมษายน 2004, หน้า 26
– International Journal of Toxicology, เดือนมกราคม 2003, หน้า 37–102