เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วจากผลงานวิจัยจำนวนมากว่าส่วนผสมของน้ำหอมไม่ว่าจะมาจากธรรมชาติหรือสังเคราะห์ขึ้น ล้วนแต่เป็นส่วนผสมที่ก่อการระคายเคืองให้แก่ผิวทุกประเภทที่เราพบเห็นกันได้มากที่สุด แต่ทั้งๆ ที่มีข้อมูลเช่นนี้ ส่วนผสมของน้ำหอมก็จะยังคงเป็นภัยร้ายที่ซุกซ่อนตัวอย่างเงียบๆ
อยู่ในผลิตภัณฑ์ถนอมผิวต่างๆ นับชิ้นไม่ถ้วน มีผู้คนจำนวนมากที่ยังไม่อาจทำใจยอมรับได้ว่าส่วนผสมของน้ำหอมนั้นเป็นตัวก่อปัญหาให้กับผิว ด้วยเหตุนี้ เราจึงคิดว่าการอธิบายถึงเรื่องที่น่าวิตกต่างๆ ก่อนน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด
ผิวมีปฏิกิริยาต่อส่วนผสมของน้ำหอมอย่างไร
ส่วนผสมให้กลิ่นหอมส่วนใหญ่จะส่งกลิ่นผ่านทางปฏิกิริยาระเหย แต่โชคไม่ดีที่ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นทางธรรมชาตินี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาระคายเคืองต่อผิวด้วยแทบจะทุกครั้ง มีข้อเท็จจริงจากผลงานวิจัยระบุว่าส่วนผสมของน้ำหอมในผลิตภัณฑ์ถนอมผิวนั้นเป็นสาเหตุของปฏิกิริยาที่ก่อการระคายเคืองและปฏิกิริยาในเชิงลบอื่นๆ ให้แก่ผิวที่พบเห็นได้มากที่สุด และปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นได้กับผิวทุกประเภทไม่ใช่เฉพาะกับผิวที่แพ้ง่ายหรือเป็นผื่นแดงง่ายเท่านั้น
คุณอาจเชื่อว่า ถ้าผิวของคุณไม่แสดงสัญญาณใดๆ ที่บ่งบอกถึงการระคายเคืองจากผลิตภัณฑ์ที่มีกลิ่นหอมต่างๆ ที่คุณใช้อยู่ ย่อมแสดงว่าคุณสามารถใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นได้โดยไม่เกิดปัญหาใดๆ ทั้งสิ้น เราหวังให้เป็นเช่นนั้นจริงๆ แต่มันก็ยังคงเป็นเรื่องน่ากังวลอยู่มากเพราะผิวมักจะปกปิดอาการต่างๆ ได้อย่างดีเยี่ยมเมื่อโดนรุกราน คุณอาจมองไม่เห็นถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นบนผิวที่อยู่ชั้นบนๆ แต่ความเสียหายนั้นอาจค่อยๆ ก่อตัวมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างเงียบๆ ทุกวันจนทำให้เกิดปัญหาเพียงเล็กน้อยบนผิวในระยะสั้น แต่จะก่อให้เกิดปัญหาที่รุนแรงกว่าในระยะยาว
ลองนึกถึงความเสียหายจากแสงแดดที่เกิดจากการไม่ทาผิวด้วยผลิตภัณฑ์กันแดด ผลงานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าความเสียหายจากแสงแดดนั้นจะเกิดขึ้นตั้งแต่นาทีแรกที่ผิว (ที่ไม่ได้ทาผลิตภัณฑ์กันแดด) สัมผัสโดนแสงแดด นอกจากจะทำให้ผิวไหม้หรือคล้ำแล้ว ความเสียหายจะสะสมขึ้นเรื่อยๆและเป็นอันตรายถึงชีวิต ซึ่งเป็นอันตรายที่คุณไม่อาจรู้สึกหรือมองเห็นได้บนผิวของคุณ ถึงแม้จะมองไม่เห็นแต่ความเสียหายทั้งหมดก็จะยังคงมีอยู่จนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสมหลังจากผ่านไปหลายปี
เหตุใด ผลิตภัณฑ์จำนวนมากที่จึงมีส่วนผสมของน้ำหอม
นั่นเป็นคำถามที่ดีมาก และคำตอบก็ค่อนข้างจะเรียบง่ายจริงๆ คือ ผู้คนส่วนใหญ่ชอบใช้ผลิตภัณฑ์ถนอมผิวและผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมที่มีกลิ่นหอม
บริษัทผลิตเครื่องสำอางต่างๆ เข้าใจดีว่ากลิ่นหอมอันชวนดึงดูดใจที่มีอยู่ในสินค้านั้นมีพลังอำนาจและส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า รวมถึงประสบการณ์ในการใช้สินค้านั้นที่บ้านมากแค่ไหน
อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ต้องใส่ส่วนผสมของน้ำหอมลงไปในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่คุณใช้ก็คือ มีเครื่องสำอางจำนวนมากที่ผลิตด้วยส่วนผสมจากธรรมชาติ ถ้าไม่ใส่น้ำหอมลงไป ผลิตภัณฑ์นั้นก็จะมีกลิ่นที่ไม่น่าใช้ กลิ่นอันหอมละมุนจะช่วยปกปิดกลิ่นอันธรรมดาๆ ไม่น่าดึงดูดใจของผลิตภัณฑ์ได้ อย่างไรก็ตาม มีส่วนผสมบางชนิดและขั้นตอนการผสมบางอย่างที่สามารถนำมาใช้ได้เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากกลิ่นหอมนั้น มีกลิ่นแบบกลางๆ หรือน่าใช้ขึ้น พูดอีกอย่างหนึ่งคือมันไม่จำเป็นต้องเติมส่วนผสมที่มีกลิ่นหอมลงไปในผลิตภัณฑ์เสมอไป
นอกจากนั้น ส่วนผสมของน้ำหอมที่เติมลงไปนั้นยังช่วยปกปิดกลิ่นไม่น่าพึงประสงค์ของผลิตภัณฑ์ที่ใช้กระปุกเป็นบรรจุภัณฑ์ซึ่งคุณเก็บไว้นานมากแล้วอีกด้วยโดยเฉพาะถ้าหากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตด้วยส่วนผสมจากธรรมชาติทั้งหมด บรรจุภัณฑ์แบบกระปุกทำให้ส่วนผสมต่างๆ เสื่อมเร็วขึ้น เนื่องจากในทันทีที่คุณเปิดกระปุกออก ส่วนผสมอันบอบบางก็จะสัมผัสโดนอากาศ และทุกครั้งที่คุณจุ่มนิ้วมือลงไปในกระปุก แบคทีเรียที่ติดอยู่ตามนิ้วมือของคุณก็จะติดลงไปในผลิตภัณฑ์ด้วย ลองคิดดูว่า ถ้าคุณเอาผักกาดหอมสักหัวหนึ่งใส่เข้าไปในตู้เย็น มันจะอยู่ได้นานขนาดไหน และพอมันเกิดการแปลงสภาพ จะดูเป็นอย่างไร ไม่อยากจะคิดเลยใช่มั้ย!
แม้แต่น้ำมันหอมระเหยหรือส่วนผสมให้กลิ่นหอมจากธรรมชาติก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น แม้ว่าจะมีน้ำมันหอมระเหยหลายชนิดและสารสกัดให้กลิ่นหอมจากพืชจำนวนมากที่มีคุณประโยชน์ต่อผิว การระเหยที่เกิดขึ้นในขณะที่ส่วนผสมเหล่านั้นส่งกลิ่นไม่ใช่สิ่งที่ดีต่อผิว สิ่งที่ทำให้จมูกของคุณพึงพอใจ ไม่ใช่สิ่งที่ทำให้ผิวของสบายเลย!
ที่จริงมีสารสกัดและน้ำมันที่ได้จากพืชหลายอย่างที่มีคุณประโยชน์อันโดดเด่นต่อผิวและไม่มีข้อเสียในแบบที่น้ำมันหอมหรือสารสกัดที่มีกลิ่นหอมจากพืชมี
พวกนั้นแหละคือส่วนผสมจากธรรมชาติต่างๆ ที่เรานำมาใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ถนอมผิว Paula’s Choice และเราก็อยากให้ผลิตภัณฑ์ยี่ห้ออื่นๆ ใช้ตามด้วย!
ข้างล่างนี้ คือ รายการส่วนผสมให้กลิ่นหอมต่างๆ ที่เรามักพบบนฉลากผลิตภัณฑ์ถนอมผิว แน่นอนว่า ยังมีมากกว่านี้อีกมาก แต่นี่คือรายการหลักๆ สำหรับช่วยให้คุณเลือกซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น
– Fragrance
– Parfum/Perfume/Aroma
– Linalool
– Citronellol
– Cinnamal
– Limonene
– Geraniol
– Eugenol
– Lavender oil (Lavandula angustifolia)
– Rose flower extract (Rosa damascena)
– Bergamot oil (Citrus bergamia)
– Ylang-ylang oil (Canaga odorata)
– Lemon (Citrus limon)
– Lime (Citrus aurantifolia or Citrus medica)
– Orange (Citrus sinensis)
– Tangerine (Citrus tangerine)
– Peppermint (Mentha piperita)
– Spearmint (Mentha spicata)
– Eucalyptus
– Cinnamon (Cinnamomum)
จมูกของคุณแยกแยะออกไหม
โชคร้าย ที่ไม่มีส่วนผสมจากธรรมชาติบางอย่างที่มีกลิ่นน่าพึงพอใจ แต่ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองและดีเยี่ยมสำหรับผิว เช่น melon, vanilla, cucumber, aloevera, almond, mango, coconut, cocoa butter, shea butter และ cucumber
มีบางครั้งที่ผลิตภัณฑ์อาจไม่มีกลิ่น เนื่องจากส่วนผสมที่ให้กลิ่นหอมบางอย่างถูกเติมลงไปเพื่อปกปิดกลิ่นที่ไม่เชิญชวนให้ใช้อันแท้จริงของผลิตภัณฑ์ถนอมผิวนั้น ซึ่งฟังดูค่อนข้างจะย้อนแย้ง เพราะนั่นเป็นการเติมกลิ่นเพื่อระงับกลิ่น!
มีส่วนผสมสำหรับถนอมผิวที่มีประโยชน์หลายชนิด (เช่น สารต้านอนุมูลอิสระ) ที่มีกลิ่นออกทางธรรมชาติ และมีบางชนิดที่มีกลิ่นหอมมาก! แต่การแยกแยะระหว่างสารต้านอนุมูลอิสระอันทรงพลังที่ช่วยปกป้องผิวของคุณจากมลภาวะ กับส่วนผสมที่เติมไว้ให้หอมเพื่อ “หลอกล่อคุณให้ซื้อ” นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย
เช่นเดียวกับเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ถนอมผิว บนฉลากส่วนผสมจะต้อง (หรืออย่างน้อยก็ควร) ระบุเกี่ยวกับข้อมูลที่ผู้ใช้ควรต้องรู้ แต่เนื่องจากรายชื่อส่วนผสมส่วนใหญ่นั้นฟังดูเหมือนคำศัพท์ในวิชาเคมีที่คุณเรียนในมหาวิทยาลัย มันจึงยากที่คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่ามันคืออะไร
เราอยากให้คุณมั่นใจว่าที่ Paula’s Choice Skincare เราไม่เคยเติมสารระเหยหรือส่วนผสมให้กลิ่นหอมที่เป็นโทษต่อผิวใดๆ ลงไปเลยในผลิตภัณฑ์ของเราทุกชนิด มีส่วนผสมที่มีคุณประโยชน์อันน่าทึ่งอีกจำนวนมากที่สามารถสร้างผลลัพธ์อันยอดเยี่ยมให้แก่ผิว ซึ่งไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองผิวหรือก่อปัญหาผิวใดๆ เลยโดยสิ้นเชิง
ส่วนหนึ่งของภารกิจของเรา คือ การยึดมั่นในสิ่งที่ได้ผ่านการพิสูจน์แล้วจากผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อให้คุณสามารถดูแลผิวของคุณได้อย่างดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ –และนั่นหมายถึงการช่วยหลีกเลี่ยงไม่ให้ผิวของคุณสัมผัสโดนส่วนผสมที่ให้กลิ่นหอมหรืออย่างน้อยก็ช่วยลดให้น้อยลงที่สุด
ข้อมูลที่นำมาใช้อ้างอิง:
– Biochimica and Biophysica Acta, เดือนพฤษภาคม ปี 2012, หน้า 1,410-1,419
– Aging, เดือนมีนาคม ปี 2012, หน้า 166-175
– Chemical Immunology and Allergy, เดือนมีนาคม ปี 2012, หน้า 77-80
– Experimental Dermatology, เดือนตุลาคม ปี 2009, หน้า 821-832
– International Journal of Toxicology, ฉบับที่ 27, ปี 2008, หน้าเสริม 1-43
– Food and Chemical Toxicology, เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2008, หน้า 446—475
– Skin Pharmacology and Physiology, ปี 2008, ฉบับที่ 4, หน้า 191-202
– American Journal of Clinical Dermatology, ปี 2003, ฉบับที่ 11, หน้า 789-798
– Skin Pharmacology and Physiology, ปี 2008, ฉบับที่ 4, หน้า 191-202