ที่จริงแทบจะไม่มีหัวข้อเกี่ยวกับการถนอมผิวใดเลยที่จะสร้างความสับสนให้กับคุณได้มากเท่ากับเรื่อง pH อีกแล้ว คุณคงสงสัยว่ากับแค่ตัวอักษรเพียงสองตัว มันจะมีผลอะไรมากมายกับผิวของเราขนาดนั้น ความจริง คือ pH มีความเกี่ยวพันกับผิวและผลิตภัณฑ์ที่เราใช้มากเสียจนคุณคาดไม่ถึงแต่ในท่ามกลางความกังวล การหาซื้อผลิตภัณฑ์ถนอมผิวที่ได้รับการปรับค่า pH ให้สมดุลแล้วมาใช้กลับกลายเป็นเรื่องที่ง่ายมาก เราจะช่วยให้คุณสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ถนอมผิวที่มีค่า pH แตกต่างกันได้อย่างสบายใจและจะช่วยให้คุณใช้ผลิตภัณฑ์ถนอมผิวในขั้นตอนต่างๆ ของคุณได้อย่างรวดเร็วด้วย
pH คือ อะไร
คำว่า “pH” หมายถึง “ระดับของไฮโดรเจน” pH มีความเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนตัวของโมเลกุลไฮโดรเจนอิออน (อิออน คือ โมเลกุลที่มีทั้งประจุบวกและลบ) ในสารละลายที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบ ในน้ำจะมีไฮโดรเจนจำนวนสองโมเลกุลและออกซิเจน หนึ่งโมเลกุล ซึ่งเขียนว่า H 2 O
การแสดงค่า pH ในสารละลาย จะระบุเป็นค่าตัวเลขบนสเกลตั้งแต่ 0 ถึง 14 ค่าที่ต่ำกว่า 7 คือ เป็นกรด (acids) สูงกว่า 7 คือ เป็นด่าง (bases) ส่วนค่า 7 คือ เป็นกลาง pH ของน้ำมะนาว มีค่า 2 ซึ่งหมายถึงเป็นกรดมาก ในขณะที่ pH ของแอมโมเนีย มีค่า 12 ซึ่งหมายถึงเป็นด่างมาก
แต่คุณจำเป็นต้องรู้ว่า ค่าตัวเลขที่อยู่ระหว่างกลางก้ำกึ่งกันนั้น ถ้าใช้หลักคณิตศาสตร์ปกติ มันก็จะดูไม่ต่างกันมาก แต่ค่า pH นั้น เป็นค่าทาง ลอการิทึม (logarithmic) ไม่ใช่เส้นตรง (linear) ดังนั้น ค่า pH แต่ละค่า จึงมีความแตกต่างกันถึง 10 เท่า เช่น pH ที่ค่า 3 จะมีความแรงกว่า pH ที่ค่า 5 ถึง 100 เท่า
หรือคุณอาจนึกถึงความแตกต่างของ pH แต่ละค่าได้จากตัวอย่างที่คล้ายคลึงกัน เช่น ริกเตอร์สเกล (Richter scale) ซึ่งเป็นค่าที่ใช้วัดความรุนแรงของแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวที่รุนแรงในระดับ 6 ริกเตอร์ ย่อมก่อความเสียหายมากกว่าแผ่นดินไหวที่รุนแรงในระดับ 4 หรือ 5 มาก
pH ของผิว คืออะไร
คุณอาจแปลกใจที่รู้ว่า ผิวชั้นหนังกำพร้าที่อยู่บนสุดนั้นมีความเป็นกรดอยู่แล้วโดยธรรมชาติ ซึ่งทำให้ผิวสามารถเข้ากันกับผลิตภัณฑ์ถนอมผิวที่มีความเป็นกรดได้ แม้งานวิจัยจะระบุว่า ค่า pH ของผิวจะมีความแตกต่างกัน แต่ค่า pH ของผิวโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 4.7
ผิวของผู้ชายมีแนวโน้มที่จะเป็นกรดมากกว่าผิวของผูหญิง และแม้ค่า pH ของผิวจะสูงขึ้นไปตามอายุ ผิวก็จะยังคงมีความเป็นกรดอยู่ดี
เมื่อตอนเราเกิดใหม่ๆ ผิวของเราจะมีความเป็นกลาง แต่พอผ่านไปประมาณสัก 2 สัปดาห์ ผิวของเราก็จะเริ่มมีความเป็นกรด
ชั้นไขมันและคราบไคลที่ปกคลุมผิว คืออะไร
ที่ชั้นบนสุดของผิว จะมีแผ่นบาง ๆ ที่เรียกกันว่า ชั้นไขมันและคราบไคล (acid mantle) ปกคลุมอยู่ ซึ่งจะทำงานร่วมกับส่วนผสมทางธรรมชาติในผิว เช่น เซราไมด์ คลอเลสเตอรอล เอ็นไซม์ เหงื่อ และน้ำมันผิว เพื่อช่วยปกป้องผิวที่อยู่ชั้นบนสุด และชั้นล่างๆ จากมลภาวะต่างๆ ภายนอก
นอกจากนั้น ความเป็นกรดของผิวก็มีส่วนช่วยปรับปริมาณจุลินทรีย์ที่เรียกว่า ไมโครไบโอม (microbiome) ให้มีความเหมาะสมด้วย
ซึ่งไมโครไบโอมที่เป็นกรด จะช่วยทำให้เชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่างๆ แพร่ขยายตัวได้ยากยิ่งขึ้น
pH ส่งผลต่อผิวอย่างไร
การก่อกวน pH ให้เกิดความปั่นป่วนบ่อยๆ อาจก่อให้เกิดปัญหาเลวร้ายตามมามากมาย เช่น ที่พบบ่อย คือ ผิวแห้ง หรือผิวรู้สึกตึงหลังจากล้างด้วยสบู่ก้อนหรือสบู่เหลว (สบู่ส่วนใหญ่จะมีความเป็นด่าง)
เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดจึงมีผู้คนจำนวนมากที่ซื้อผลิตภัณฑ์ถนอมผิวที่ได้รับการปรับ pH ให้มีความสมดุลแล้วมาใช้ แต่ผลิตภัณฑ์ถนอมผิวก็ไม่ได้มีการระบุค่า pH ไว้บนฉลากทุกชิ้น แล้วควรทำอย่างไรดี? ข่าวดีคือ ผลิตภัณฑ์ถนอมผิวไม่ว่าจะเป็นแบบชนิดที่ทาทิ้งไว้ หรือชนิดที่ต้องล้างออก ต่างก็ได้รับการปรับ pH ให้มีความสมดุลอยู่แล้ว เนื่องจากนักเคมีในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางต่างรู้กันดีอยู่แล้วว่าผลิตภัณฑ์ถนอมผิวส่งผลกระทบต่อ pH ของผิวอย่างไร ด้วยเหตุนี้ บรรดานักเคมีจึงมักกำหนดขั้นตอนในสูตรไว้แล้ว เพื่อปรับค่า pH มีความสมดุล
คุณอาจสงสัยว่า “pH ได้รับการปรับให้มีความสมดุล” หมายถึงอะไร ผลิตภัณฑ์ที่มีการปรับ pH ให้มีความสมดุลหมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตด้วยสูตรที่มีการปรับ pH ให้มีค่าอยู่ในช่วงที่ผิวปกติและมีสุขภาพดีเป็น ซึ่งจะอยู่ระหว่าง 4 ถึง 7
แม้ในท้องตลาดอาจมีผลิตภัณฑ์ถนอมผิวที่มีค่า pH อยู่นอกช่วงดังกล่าว แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาอะไร
มีผลงานวิจัยที่บ่งชี้ว่า pH ของผิวอาจเกิดการชะงักงันบ้างเล็กน้อย (จากการใช้ผลิตภัณฑ์ผลัดเซลล์ผิว AHA หรือ BHA ที่ pH มีค่า 3.6 หรือใช้ผลิตภัณฑ์ทากันแดดที่ pH มีค่า 7.5) แต่ก็จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น โดยทั่วไปภายในหนึ่งชั่วโมง ผิวก็จะปรับสภาพตัวเองให้กลับมามี pH ปกติ และผลงานวิจัยยังชี้ให้เห็นด้วยว่า การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นกรดจะช่วยกระตุ้นให้ผิวผลิตสารสำคัญบางอย่างที่จำเป็นต่อการทำผิวให้เนียนนุ่ม และชุ่มชื้น
pH ในผลิตภัณฑ์ถนอมผิว
ก่อนหน้านั้น เราได้เคยบอกแล้วว่าผลิตภัณฑ์ถนอมผิวส่วนใหญ่จะได้รับการปรับ pH ให้มีความสมดุลอยู่แล้ว ซึ่งรวมถึงกลุ่มผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของ PAULA’S CHOICE ด้วย ข้างล่างนี้คือ ค่า pH ในผลิตภัณฑ์ถนอมผิวกลุ่มต่างๆ ของเรา
- เคลนเซอร์ หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า: pH 4.5–7
- โทนเนอร์: pH 5–7
- ผลิตภัณฑ์ทากันแดด : pH 5–7.5
- ผลิตภัณฑ์ผลัดเซลลืผิว AHA และ BHA: pH 3.2–3.9 ซึ่งช่วงที่ดีที่สุด คือ ระหว่าง 3 ถึง 4
- มอยส์เจอไรเซอร์: pH 5–7
- เซรั่ม: pH 4–6
- ผลิตภัณฑ์วิตามินซี (กรดแอสคอบิค): pH 2.6–3.2
- ผลิตภัณฑ์เรตินอล 4.00–6.6
คุณสามารถนำผลิตภัณฑ์ถนอมผิวที่ค่า pH ต่างกัน มาทาทับกันได้หรือไม่
มักมีคนถามเราว่า ถ้าจะเอาผลิตภัณฑ์ถนอมผิวที่มีค่า pH ต่างกันมาทาทับๆ กันทันทีได้หรือไม่ เช่น เอามอยส์เจอไรเซอร์มาทาทับผลิตภัณฑ์ผลัดเซลล์ผิว AHA สิ่งที่คนมักกังวล คือ การทำดังกล่าวอาจทำให้ผลิตภัณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่ทา หรือทั้งสองชิ้นทาแล้วไม่ได้ผล เนื่องจากค่า pH เกิดตีกันเอง ด้วยเหตุนี้ คนจึงมักทาผลิตภัณฑ์แล้วรอ 20 นาทีหรือนานกว่านั้น ก่อนที่จะเริ่มทาผลิตภัณฑ์อื่น แต่จริงๆ แล้ว คุณไม่จำเป็นต้องรอเลย แปลกใจมั๊ย?
เหตุผล คือ เมื่อผลิตภัณฑ์ที่มีองค์ประกอบเป็นน้ำ มีช่วง pH คงที่ มันก็จะคงที่อยู่อย่างนั้น ถึงแม้คุณจะเอาผลิตภัณฑ์ที่มี pH ช่วงอื่นมาทาทันทีเลยก็ตาม นั่นเป็นเพราะส่วนผสมที่นักเคมีใช้เพื่อสร้างความคงที่ให้กับ pH ในผลิตภัณฑ์นั้นแรงพอที่จะรักษาช่วง pH นั้นไว้ได้ ไม่ว่าคุณจะเอาอะไรมาทาด้วยพร้อมๆ กันก็ตาม
ถ้าหากอยากจะทำให้ pH ในผลิตภัณฑ์ถนอมผิวเกิดการชะงักงันแล้วล่ะก็ การทำเช่นนั้นกับ pH ในผิวน่าจะทำได้ง่ายกว่ามากการที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์มีช่วง pH เปลี่ยนไป คุณจำเป็นต้องใช้น้ำผสมลงไปมากๆ (ซึ่งหมายถึง ไฮโดรเจนที่เพิ่มมากขึ้นด้วย) เพิ่มความร้อน และใช้เวลานานมาก (หลายวันเลยทีเดียว)
แล้วความร้อนมีผลต่อ pH อย่างไร? ค่า pH ในผลิตภัณฑ์จะเปลี่ยนไปตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น น้ำที่อยู่ในสารละลายก็จะเกิดโมเลกุลของไฮโดรเจนมากขึ้น แต่ที่น่าประหลาดใจ คือ แม้อุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงมาก แต่ค่า pH จะไม่ได้ เปลี่ยนแปลงมากตาม เช่น น้ำที่อยู่ในอุณหภูมิห้อง 25 องศาเซลเซียส จะมี pH ที่ค่า 7 (เป็นกลาง) แต่พออุณหภูมิห้องสูงขึ้นเป็น 50
องศาเซลเซียส (เป็นเรื่องที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้ในชีวิตจริง) pH ก็จะตกลงไปที่ 6.6 ซึ่งไม่ใช่ค่าที่ลดลงมากเลย ทั้งที่ความร้อนสูงขึ้นมาก
ในชีวิตจริง มันเป็นไปไม่ได้ในทางเคมีเลยที่ค่า pH ในผลิตภัณฑ์จะลดต่ำลงไปจนทำให้ใช้ไม่ได้ผล หรือแม้ในกรณีที่ pH เปลี่ยนแปลงสูงขึ้นก็ตาม ไม่ว่าจะอย่างไร คุณก็จะยังได้รับประโยชน์จากผลิตภัณฑ์นั้นอยู่ดี โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนขั้นตอนใดทั้งสิ้น!
น้ำโซดา สามารถเข้ากันกับ pH ของผิวได้หรือไม่
เมื่อเร็วๆ นี้ มีความกังวลว่า ถ้าใช้น้ำก๊อกมาล้างหน้า อาจทำให้ pH ของผิวเกิดการชะงักงัน หลายคนก็เลยเปลี่ยนมาใช้น้ำโซดาล้างหน้าแทน ความกังวลดังกล่าวมาจากความรู้ที่ว่า น้ำก๊อกมี pH ค่า 7 ซึ่งคนคิดว่ามันสูงเกินไปสำหรับใช้กับผิว ที่มีค่า pH ระหว่าง 5.5 ถึง 4.5เท่านั้น ส่วนน้ำโซดา มีค่า pH ที่ 5.5 จึงน่าจะเหมาะกับผิวมากกว่า
แม้จะฟังดูมีเหตุผล แต่นั่นไม่ควรเป็นปัญหาเลย ด้วยเหตุผลสองประการ คือ ประการแรก น้ำโซดาส่วนใหญ่ไม่ได้มีค่า pH ที่ 5.5 แต่มีค่า pH ระหว่าง 3-4 และต่อให้น้ำโซดามีค่า pH ที่ 5.5 จริง ๆ นั่นก็ยังสูงกว่าค่า pH ในผิวของคนส่วนใหญ่ ประการที่สอง ค่า pH ที่ 7 ซึ่งเป็นกลาง (น้ำก๊อก) สามารถทำให้ pH ของผิวเกิดการชะงักงันได้น้อยกว่า pH ในค่าอื่น พูดให้กระชับ คือ หากต้องใช้น้ำก๊อกล้างหน้า ก็ใช้ไปเถิด ไม่เป็นไรหรอก!
ข้อมูลอ้างอิง:
– Current Problems in Dermatology, เดือนสิงหาคม 2018, หน้า 1-10
– The Journal of Clinical and Aesthetic Dermatology, เดือนกรกฎาคม 2017, หน้า 33-39
– Acta Dermato-Venereologica, เดือนมีนาคม 2013, หน้า 261-269
– Photochemistry and Photobiological Sciences, เดือนเมษายน 2010, หน้า 578-585
– International Journal of Cosmetic Science, เดือนตุลาคม 2006, หน้า 359-370
– Skin Pharmacology and Physiology, เดือนกรกฎาคม 2006, หน้า 296-301
– Folding and Design, เดือนสิงหาคม 1998, หน้า 285-291