กรดไฮยาลูโรนิคเป็นสารชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นที่รู้กันดีถึงคุณสมบัติอันน่าทึ่งในการดึงดูดและกักเก็บความชุ่มชื้นเอาไว้ได้ถึง 1,000 เท่าของน้ำหนักตัวมันเอง สารนี้จะช่วยบำรุงและเสริมสุขภาพผิว ทำให้ผิวรู้สึกยืดหยุ่น และดูอ่อนนุ่มอย่างต่อเนื่อง
กรดไฮยาลูโรนิค คืออะไร?
ในโลกแห่งผลิตภัณฑ์ถนอมผิว ส่วนผสมที่อยู่ในกระแสความนิยมมักได้รับความสนใจและหมดความนิยมไปอย่างรวดเร็ว (และมีส่วนผสมประเภทนี้หลายชนิดที่ไม่น่าจะได้รับความนิยมให้นำมาใช้เลยตั้งแต่ต้น!) แต่ผลงานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า กรดไฮยาลูโรนิคนั้น
ไม่ได้เป็นแค่เพียงส่วนผสมในกระแสความนิยมเท่านั้น ในทางกลับกัน มันยังเป็นหนึ่งในส่วนผสมสำหรับการถนอมผิวที่ดีที่สุดที่คุณสามารถนำมาใช้ได้
กรดไฮยาลูโรนิค คือ สารไกลโคซามิโนไกลแคน (glycosaminoglycan) ชนิดหนึ่ง ซึ่งชื่อของมันอาจฟังดูเรียกยาก แต่ก็เป็นสารสำคัญอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและเป็นส่วนหนึ่งของระบบสนับสนุนความอ่อนเยาว์ของผิว เมื่อมีสารนี้อยู่ในผิวเป็นจำนวนมาก กรดไฮยาลูโรนิคก็จะทำงานเพื่อรักษาคุณลักษณะต่างๆ ของผิวให้มีความคงที่ ได้รับการปกป้อง และผลัดเปลี่ยนใหม่อย่างสม่ำเสมอ
นอกจากนั้น กรดไฮยาลูโรนิคยังเป็นสารดูดความชุ่มชื้น (humectant) ชนิดหนึ่งด้วย ซึ่งเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ถนอมผิวอย่างหนึ่งที่สามารถดึงดูดความชุ่มชื้นได้จากบรรยากาศรอบตัว สารดูดความชุ่มชื้นมักเป็นส่วนผสมที่พบมากในผลิตภัณฑ์มอยส์เจอไรเซอร์ที่มีส่วนประกอบหลักเป็นน้ำ ผลิตภัณฑ์เซรั่ม และผลิตภัณฑ์ถนอมผิวอื่นๆ ที่ใช้ทาโดยไม่ต้องล้างออก เนื่องจากสารนี้มีความคุณสมบัติช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวทุกประเภท โดยเฉพาะผิวแห้งและผิวที่ขาดความชุ่มชื้นจะได้รับประโยชน์มาก
นอกจากนั้น กรดไฮยาลูโรนิคยังเป็นโพสต์ไบโอติก (postbiotic) ชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนผสมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติโดยเกิดจากโปรไบโอติกที่อยู่ในไมโครไบโอม (microbiome กลุ่มจุลชีพ) ในผิวที่กำลังย่อยสลาย นักวิจัยหลายรายเชื่อว่าการทำงานอย่างสอดประสานกับผิวของสารนี้ เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การใช้กรดไฮยาลูโรนิคนำมาซึ่งผิวที่มีสุขภาพดี และดูอ่อนเยาว์ขึ้น มันเป็นสารที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงและช่วยสร้างไมโครไบโอม (microbiome) อันมีเอกลักษณ์เฉพาะขึ้นมาใหม่ในผิว
กรดไฮยาลูโรนิค ช่วยผิวที่แห้งและขาดความชุ่มชื้นอย่างไร?
แล้วกรดไฮยาลูโรนิคทำหน้าที่อะไร?
ความอัศจรรย์อันมีวิทยาศาสตร์รองรับนี้อยู่ที่ความสามารถของกรดไฮยาลูโรนิคในการเติมเต็มความชุ่มชื้นได้ในปริมาณมาก
กรดไฮยาลูโรนิคในปริมาณแค่ 1 กรัม (หรือ 0.03 ออนซ์) สามารถเก็บรักษาน้ำได้ถึง 6 ลิตร สิ่งที่น่าทึ่งกว่านั้น คือ กรดไฮยาลูโรนิคเก็บรักษาน้ำในผิวโดยไม่ทำให้เกิดการผิวเสียสมดุล และทำให้ผิวมีน้ำมากเกินไป (ซึ่งน่าประหลาดใจมาก เนื่องจากปริมาณน้ำในผิวที่มากเกินไปอาจก่อปัญหาให้สารสำคัญหลายอย่างบนผิวชั้นบนสุดถูกทำลายได้) กรดไฮยาลูโรนิคสามารถเพิ่มความชุ่มชื้นได้มากกว่าส่วนผสมอื่น นอกจากนั้น มันยังช่วยคืนชีวิตชีวาให้กับชั้นผิวที่อยู่ข้างบนสุดอีกด้วย ผิวจึงดูและรู้สึกอ่อนนุ่มขึ้น เนียนเรียบขึ้น และชุ่มชื้นเปล่งประกายคุณประโยชน์เหล่านี้ช่วยปรับปรุงริ้วรอยเหี่ยวย่นต่างๆ ที่ปรากฎให้ดีขึ้นในทันที
คุณประโยชน์ด้านชะลอวัยของกรดไฮยาลูโรนิค
กรดไฮยาลูโรนิคนั้นมีคุณสมบัติช่วยยึดเหนี่ยวความชุ่มชื้นเอาไว้ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับช่วยชะลอวัยให้กับผิว
เมื่อเราอยู่ในช่วงเยาว์วัยผิวของเราสามารถเก็บรักษาน้ำและคงความชุ่มชื้นไว้ได้ในปริมาณที่เหมาะสม แต่เมื่อเรามีอายุมากขึ้น ผิวก็สูญเสียคุณสมบัตินี้ไป ผลที่ตามมาคือ การสูญเสียความตึงกระชับ ความยืดหยุ่นอย่างเห็นได้ชัดรวมถึงความอิ่มเอิบของผิวด้วย สรุปสั้นๆ คือ กรดไฮยาลูโรนิคมีคุณสมบัติช่วยชะลอวัยที่ทรงพลั งมาก การออกไปเผชิญกับแสงแดดโดยไม่ทาสิ่งใดป้องกัน และมลภาวะทำให้ผิวชั้นบนอ่อนแอลง และมีริ้วรอยปรากฎก่อนเวลาอันควร เราหวังว่าคุณคงทราบดีอยู่แล้วถึงความจำเป็นในการใช้ผลิตภัณฑ์ทากันแดดที่มีฤทธิ์ปกป้องกว้างเป็นประจำทุกวัน และการไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ถนอมผิวที่มีส่วนผสมหยาบกระด้างเพื่อต่อสู้กับสิ่งที่คอยทำร้ายผิวเหล่านี้ แต่คุณอาจยังไม่ทราบว่าสารต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในกรดไฮยาลูโรนิค และคุณสมบัติช่วยเติมเต็มผิวของมันสามารถลดผลกระทบอันเลวร้ายนี้ได้ด้วยเช่นกัน (โดยเฉพาะเมื่อใช้ในขั้นตอนดูแลผิวของคุณร่วมกับส่วนผสมอื่นที่มีผลงานวิจัยรับรอง) และนี่แหละ คือ สิ่งที่เราเรียกว่าส่วนผสมช่วยชะลอวัยสารพัดประโยชน์!
กรดไฮยาลูโรนิค และโซเดียมไฮยาลูโรเนต
นอกจากกรดไฮยาลูโรนิคแล้ว คุณอาจเคยเห็นคำว่า “โซเดียมไฮยาลูโรเนต” ปรากฎอยู่ในรายการส่วนผสมบนฉลากผลิตภัณฑ์ถนอมผิว ไม่ต้องแปลกใจเลย ส่วนผสมทั้งสองนี้มีความเกี่ยวข้องกันอย่างแน่นอน โซเดียมไฮยาลูโรเนต คือ เกลือชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นจากกรดไฮยาลูโรนิค ซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อผิวในลักษณะเดียวกันกับกรดไฮยาลูโรนิค แต่จะมีสิ่งหนึ่งที่โซเดียมไฮยาลูโรเนตมีความพิเศษกว่า คือ ผิวสามารถดูดซึมโซเดียมไฮยาลูโรเนตนี้ได้ง่ายกว่ากรดไฮยาลูโรนิค แล้วนั่นหมายความว่า โซเดียมไฮยาลูโรเนต นั้นดีกว่ากรดไฮยาลูโรนิคหรือเปล่า? เปล่าเลย! ที่จริงแล้ว Paula’s Choice มีปรัชญาว่า ผลิตภัณฑ์ เช่น มอยส์เจอไรเซอร์และครีมที่มีกรดไฮยาลูโรนิคที่ดีนั้น ควรต้องมีส่วนผสมชนิดนี้ทั้งในสองรูปแบบอยู่ในผลิตภัณฑ์ผิวของคุณจึงจะเก็บเกี่ยวคุณประโยชน์จากสารนี้ได้มากที่สุด มีบางผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดที่มีส่วนผสมทั้งสองชนิดนี้ แต่เนื่องจากกรดไฮยาลูโรนิคมีราคาแพงกว่า เราจึงมักเห็นผลิตภัณฑ์ถนอมผิวที่มีส่วนผสมของโซเดียมไฮยาลูโรเนตบ่อยกว่า
หมายเหตุ: บางบริษัทใช้กรดไฮยาลูโรเนตชนิด “น้ำหนักโมเลกุลต่ำ” ซึ่งเป็นกรดไฮยาลูโรนิคชนิดที่มีโมเลกุลขนาดเล็กกว่ากรดไฮยาลูโรนิคปกติทั่วไป โมเลกุลของกรดไฮยาลูโรนิค “ปกติทั่วไป” จะมีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งทำให้สามารถคงอยู่บนผิวชั้นบนได้ แต่การทำให้โมเลกุลของกรดไฮยาลูโรนิคมีขนาดเล็กลงนั้นก็เพื่อให้มันสามารถแทรกซึมออกไปได้ไกลขึ้นอีกเล็กน้อยไปยังผิวชั้นบนสุด
เพื่อเสริมผลลัพธ์ให้เห็นเด่นชัดขึ้น
วิธีใช้กรดไฮยาลูโรนิคในขั้นตอนดูแลผิว (ควรใช้เมื่อไรและใช้บริเวณไหน)
ถึงตอนนี้ คุณคงรู้แล้วว่ากรดไฮยาลูโรนิคและโซเดียมไฮยาลูโรเนตนั้นมีประโยชน์ต่อผิวอย่างไร แต่คุณอาจสงสัยว่าแล้วเราจะเลือก ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมที่มีผลงานวิจัยรองรับแล้วเหล่านี้ อย่างไร Paula’s Choice Skincare มักจะใช้ส่วนผสมของสารดูดความชุ่มชื้นชั้นเยี่ยมเหล่านี้ทั้งสองรูปแบบในสูตรผลิตภัณฑ์มอยส์เจอไรเซอร์ เซรั่ม โทนเนอร์ และผลิตภัณ์ฑมาสก์ผิวหน้า ดังนั้น คุณจึงมีทางเลือกในการใช้กรดไฮยาลูโรนิคในขั้นตอนดูแลผิวของคุณมากมายหลายวิธี
กรดไฮยาลูโรนิคเป็นสารที่ช่วยบำรุงผิวทุกประเภทได้อย่างอ่อนโยนและน่าอัศจรรย์ แม้จะเป็นผิวที่แพ้ง่ายมากที่สุดหรือง่ายต่อการขึ้นผื่นแดงมากก็ตาม ที่จริงแล้ว ผลลัพธ์ในทางบวกที่สารนี้มอบให้แก่ผิวชั้นบนนั้น ส่วนหนึ่งมาจากคุณประโยชน์ที่ช่วยให้ผิวสงบอย่างเป็นธรรมชาติที่มีอยู่ในตัว ซึ่งหมายความว่า มันเหมาะสำหรับใช้กับผิวที่เป็นสิวง่ายด้วยเช่นกัน สำหรับสูตรผลิตภัณฑ์ต่อไปนี้
ในแต่ละสูตรจะปราศจากส่วนผสมที่ให้กลิ่นหอม แต่จะมีส่วนผสมช่วยลดรอยผื่นแดง ให้ความชุ่มชื้นและมีส่วนผสมของสารต้านอนุมูลอิสระที่จะช่วยให้ผิวเนียนเรียบและอ่อนนุ่ม นอกจากนั้นยังมีความอ่อนโยนเพียงพอสำหรับผู้ที่มีผิวอักเสบง่ายด้วยเช่นกัน
Hyaluronic Acid Booster ผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อบางเบาดุจแพรไหม เหมาะสำหรับผิวทุกประเภท ผลิตขึ้นจากสูตรให้ความชุ่มชื้นและปรับสภาพริ้วรอยที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อผิว นอกจากนั้นยังมีส่วนผสมของเซราไมด์สำหรับช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับ การทำหน้าที่ของเกราะป้องกันผิวตามธรรมชาติ คุณสามารถใช้ผลิตภัณฑ์นี้โดยทาลงบนผิวหลังจากที่ใช้เคลนเซอร์ โทนเนอร์ และผลิตภัณฑ์ช่วยผลัดเซลล์ผิวแล้ว หรือคุณจะนำมาผสมกับเซรั่มหรือมอยส์เจอไรเซอร์ชิ้นโปรดของคุณก่อนแล้วจึงทาก็ได้
RESIST Intensive Repair Cream ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับผิวแห้งถึงแห้งมาก ผลิตขึ้นด้วยสูตรอันอุดมด้วยสารบำรุงมากมายและเรตินอล จึงทำให้เหมาะมากสำหรับใช้เป็นประจำทุกวัน (และ/หรือทุกคืน) เพื่อมอบความชุ่มชื้นและช่วยลดริ้วรอยบนผิว ด้วยส่วนผสมของเปปไทด์ เซราไมด์ และโซเดียมไฮยาลูโรเนต
CLEAR Oil-Free Moisturizer ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ที่กำลังเผชิญกับปัญหาสิว และกำลังมองหามอยส์เจอไรเซอร์ที่ดีที่สุดสำหรับใช้กับผิวที่เป็นสิวง่าย ผลิตภัณฑ์นี้มีเนื้อโลชั่นอันบางเบา มีส่วนผสมของโซเดียมไฮยาลูโรเนต เซราไมด์ และสารสกัดจาก
บลูเบอร์รี่ที่จะช่วยมอบความชุ่มชื้นและช่วยบรรเทารอยผื่นแดง
DEFENSE Nightly Reconditioning Moisturizer ผลิตภัณฑ์สำหรับช่วยปกป้องผิวไม่ให้เกิดริ้วรอยก่อนเวลาอันสมควรผลิตขึ้นจากสูตรอันสดชื่นที่เหมาะสำหรับผิวทุกประเภทอุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ สารบำรุงผิวทรงอานุภาพต่างๆ มากมาย และ โซเดียมไฮยาลูโรเนต เพื่อช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับกลไกปกป้องผิวในยามค่ำคืน
ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจ: เมื่อเรามีอายุมากขึ้น กรดไฮยาลูโรนิคที่อยู่ภายในผิวของเราตามธรรมชาติก็จะลดลงไปเรื่อยๆ คนที่มีอายุระหว่าง 19 ถึง 47 ปี จะมีปริมาณกรดไฮยาลูโรนิคอยู่ภายในผิวมากกว่าคนที่มีอายุระหว่าง 50 ถึง 60 ปี ถึงสองเท่า และพอเรามีอายุย่างเข้าสู่วัย 70 ปริมาณกรดไฮยาลูโรนิคในผิวก็จะยังคงลดลงต่อไปเรื่อยๆ ทำให้การบริโภคอาหารเสริมประเภทกรดไฮยาลูโรนิคมีความจำเป็นมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อช่วยทดแทนปริมาณกรดไฮยาลูโรนิคที่สูญเสียไปตามกาลเวลา (และแน่นอนว่าการตากแดดสะสมมาเป็นเวลานานหลายปีย่อมเป็นสิ่งที่ช่วยเร่งกระบวนการนี้ และกระบวนการทางอายุในผิวอื่นๆ ด้วยเช่นกัน)
ข้อมูลอ้างอิง:
– International Journal of Biological Macromolecules, December 2018, pages 1,682-1,695
– Clinical, Cosmetic, and Investigational Dermatology, August 2017, pages 311-315
– The Journal of Clinical and Aesthetic Dermatology, March 2014, pages 27-29
– Journal of Clinical and Aesthetic Dermatology, October 2012, pages 20–23; and March
2009, pages 38–43
– Dermato-endocrinology, July 2012, pages 253–258
– Journal of Drugs in Dermatology, September 2011, pages 990–1000
– International Journal of Toxicology, July–August 2009, pages 5–67